บทความรู้ไว้ไม่ตายโหง
"ประสบการณ์คับด้ามปืน ของยอดนักสืบผู้การเอลวิส"
ปฏิรูปตำรวจ




ปฏิรูปตำรวจ เป็นหัวข้อหนึ่งที่อ้างในการยึดอำนาจการปกครอง นายกฯจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อปฏิรูปตำรวจให้เสร็จภายใน 9 เดือน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะทำให้เสร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว ตำรวจเป็นองค์กรใหญ่ที่เก่าแก่ มีวัฒนธรรมองค์กรมายาวนาน การใช้คำ “ปฏิรูป” เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากกว่าปกติ
-ทำไมต้องปฏิรูปตำรวจ เพราะเป็นหน่วยงานเดียวที่การปฏิบัติงานมีผลกระทบต่อประชาชาชนโดยตรง เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของทุกคน รักษากฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย บ่อยครั้งที่ตำรวจถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติ ละเว้นการปฏิบัติ กลั่นแกล้ง ไม่ให้ความเป็นธรรม ทำงานหย่อนประสิทธิภาพ ฯลฯ หลายองค์กร หลายหน่วยงานอยากเข้ามาควบคุมตำรวจ หรือใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือ ตำรวจเองก็พยายามที่จะหนีให้พ้นจากการตกเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะเครื่องมือของนักการเมือง หนีออกจากการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย อยากเป็นอิสระ แต่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยตำรวจไม่สามารถอยู่เป็นเอกเทศได้ จึงหันไปขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีก็เป็นนักการเมือง ฉะนั้นตำรวจหนีไม่พ้น
-ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่นายกฯไม่ได้มาจากนักการเมือง ท่านส่งอาวุธให้คณะกรรมการผ่าตัดชำแหละตำรวจ จะให้เป็นแบบไหนให้เวลา 9 เดือน ไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างคิดแต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป
*หลักการที่ควรจะปฏิรูป “ต้องทำให้ตำรวจเป็นของประชาชน ต้องสนองนโยบายและรับใช้ประชาชน และ ประชาชนชนสามารถให้คุณให้โทษตำรวจได้” ถ้าไม่เป็นตามหลักการที่ว่านี้ ก็ไม่รู้จะปฏิรูปไปเพื่ออะไร
-ทุกวันนี้ตำรวจเป็นไปตามหลักการข้างต้นหรือไม่ ตอบได้เพียงว่า ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อตั้งกรมตำรวจจนมาเป็นตำรวจแห่งชาติ รูปแบบการปฏิบัติเหมือนเดิม เพียงขยายองค์กรให้ใหญ่เพื่อรองรับตำแหน่ง สนองความต้องการของประชาชนหรือไม่ รับใช้ประชาชนมากน้อยเพียงใด คำตอบอยู่ในใจของประชาชนแต่ตำรวจอาจไม่ทราบ เมื่อไรมาเป็นประชาชนก็จะทราบ
*เรื่องแรกที่ประธานคณะปฏิรูปฯคณะนี้ต้องการแก้ คือ การแต่งตั้ง โยกย้ายตำแหน่ง มีการวิ่งเต้นเสียเงิน ท่านต้องการแก้ปัญหาข้อนี้ให้หมดไป เป็นความต้องการจริงๆหรือยกขึ้นมาเพราะกระแสเรื่องนี้แรง เรื่องนี้พูดกันมานานแล้ว ไม่เห็นมีหลักฐานว่า ใครเสียเงินให้ใคร เสียกันเท่าไร ถ้ามีหลักฐานดำเนินคดีไปเลย ถ้าไม่มีหลักฐาน “หยุดพูด” เพราะคนพูดอาจจะติดคุก
*เมื่อมันหาหลักฐานไม่ได้ การแก้ต้องเอาระบบเข้ามาจับ วางระบบการแต่งตั้งโยกย้ายให้ดี กันและอุดรอยรั่ว เป็นเรื่องเก่าที่เขาได้คิดได้ทำกันมาแล้วนี ผู้ควบคุมกฎเหล็กนี้ก็คือ คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. แต่ก็หนีนักการเมืองไม่พ้นเพราะประธาน ก.ตร. คือ นายกรัฐมนตรี แต่ก็ยังเชื่อมั่นในคณะกรรมการหลายท่านที่ทรงคุณวุฒิ มีทั้งการสรรหาและเลือกตั้ง มิใช่ว่ากรรมการจะตามใจประธานไปเสียทุกเรื่อง
*กฎเกณฑ์กติกาเรื่อง การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น มีกฎ ก.ตร.เขียนไว้ชัดเจน กำหนดคุณสมบัติ อาวุโส คุณวุฒิ การครองตำแหน่ง การครองยศ *แต่ส่วนมากผู้ที่มาเป็นใหญ่มักจะ “แก้ไข” “เปลี่ยนแปลง” เพื่อให้คนของตนได้รับการพิจารณาแต่งตั้ง
*สมัยผมรับราชการมีกฎข้อหนึ่งว่า “ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนชั้นสูงขึ้นในตำแหน่งใด จะต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับรองของตำแหน่งนั้นอย่างน้อย 1 ปี” ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าหน่วยได้ศึกษาทำความเข้าใจในหน่วยงานนั้นๆก่อน ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว จึงเป็นที่มาของคำว่า สิงห์ข้ามห้วย
*การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจของ ผบ.ตร.แต่ผู้เดียว ตำแหน่งที่น่าจะมีการวิ่งเต้นคือตำแหน่ง ผบ.ตร. การแก้วิ่งเต้นควรจะแก้ที่ “หัว” ก่อน คือจัดให้มีการเลือกตั้ง ผบ.ตร.แทนการแต่งตั้ง
1.ให้มีการเลือกตั้ง ผบ.ตร. ผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็น ผบ.ตร. คือนายตำรวจระดับ รอง ผบ.ตร.ที่มีคุณสมบัติ (กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง และ ให้มีคณะกรรมการสรรหา)
2.กำหนดผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ผบ.ตร. คือข้าราชการตำรวจยศตั้งแต่ชั้นยศ พ.ต.อ.ขึ้นไปทั่วประเทศ
3.ให้ ก.ตร. เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
4.ถ้าผู้รับสมัครเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาด
*เมื่อได้หัวมาแบบนี้เชื่อว่า “หัวจะไม่ส่าย” เมื่อหัวไม่ส่าย “หางคงจะไม่กระดิก”
*แต่มันก็อยู่ที่ตัวบุคคลอีกนั่นแหละ ถ้าคนมันจะเอาซะอย่าง อยู่ที่ไหนมันก็จะเอา เรื่องนี้คิดแก้กันมาแล้วคือ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ร่วมพิจารณา ก็ยังมีข่าวเสียเงินเสียทองกันอีก จริงหรือไม่จริงไม่ทราบเพราะไม่มีหลักฐาน แต่ขอให้ได้คนดีมีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์และเหมาะสมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ก็พอ
*การผ่าตัดเอาตำรวจไปขึ้นกับหน่วยงานอื่น ไม่ได้หมายความว่าปัญหาการวิ่งเต้นจะหมดไป เอาอะไรมาเป็นหลักประกัน
*การที่จะเอาตำรวจไปขึ้นกับหน่วยงานอื่น ฟันธงได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือ “ต้องการทำให้องค์กรตำรวจเล็กลง” หาทางตัดแขนตัดขาให้ทำงานไม่สะดวก เหมือนคนง่อยเปลี้ยเสียขา ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ หากให้ตำรวจขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อมีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลในกรุงเทพฯ ผู้ว่า กทม.จะเอากำลังตำรวจที่ไหนมาจัดการกับผู้ชุมนุม มีอำนาจร้องขอกำลังจากจังหวัดอื่นไหม และผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นจะไปเอากำลังจากที่ไหน มันก็ต้องพึ่งทหารอ่ะซี
*และการจะเอาตำรวจไปขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัด มันทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาบ้าง
*ควรคิดปฏิรูปไปในทิศทางที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์น่าจะดีกว่า ให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข นอนตาหลับไม่ต้องหวาดผวาโจรผู้ร้าย เพิ่มกำลังสายตรวจให้มาก แก้ปัญหาโจรผู้ร้าย เพิ่มสถานีตำรวจย่อยให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ เพื่อจำนวนตำรวจระดับล่างที่สัมผัสประชาชน ให้สวัสดิการตำรวจผู้น้อยเพื่อให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานให้มีที่อยู่อาศัยเพียงพอ แก้ปัญหาหนี้สินตำรวจ พัฒนาความรู้กับตำรวจระดับล่างให้ทัดเทียมกับประชาชน (ปัจจุบันประชนชนส่วนใหญ่การศึกษาค่อนข้างสูง) สร้างแรงจูงใจให้ตำรวจที่ปฏิบัติงานเสี่ยงภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเพิ่มเงินค่าเสี่ยงภัยให้สูง ปูนบำเหน็จและจ่ายเงินชดเชยให้เหมาะสมกรณีที่เสียชีวิตหรือทุพลภาพในการปฏิบัติหน้าที่ สิ่งเหล่านี้ซิครับควรจะปฏิรูป ปัญหาเหล่านี้ต่างหากที่มีผลกระทบไปถึงประชาชน การวิ่งเต้นเสียเงินเสียทองในการแต่งตั้งโยกย้าย ถ้าหากมันเป็นจริง ก็ไม่เห็นจะไปกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตรงไหน เกาให้มันถูกที่คันครับ.
"คุณอังกูรเล่นหนังด้วยหรอ?"
"โห...ประกบคู่กับพี่เอกสรพงษ์ด้วย"
"คลาสสิคสุดๆ...อยากดูเต็มๆจัง"
และอีกมากมายสำหรับเสียงตอบรับ เนื่องจากล่าสุดทีมงานทำ VDO "เปิดปูมฮีโร่" มาให้ได้ชมกัน วันนี้ทีมงานจีงขอสมนาคุณแฟนๆ ตามเสียงเรียกร้องครับ เราใช้เวลาตามหาภาพยนตร์สุดคลาสสิคเรื่องนี้อยู่นาน ในที่สุดก็ถึงมือแฟนๆ ไปดูกันเลยดีกว่าครับ...

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพยนตร์)

ตอน 1ตอน 2ตอน 3
ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 1 ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 2 ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 3
ติดตามกันมานาน
จนเป็นแฟนประจำกันก็มาก...
แต่หลายๆท่านคงยังอยากรู้จักคุณอังกูร (007) ในแง่มุมต่างๆ ให้ลึกลงไป
ถึงเรื่องราวชีวิตกว่าจะมาเป็นฮีโร่ของเรา
ในวันนี้ เราจึงไม่รอช้าจัดเป็น VDO
ให้ชมกันอย่างจุใจ

(คลิ๊กที่ รูปเพื่อดูวีดีโอ)

พลังสกาล่าร์ ร้องทุกข์ที่นี้
จำนวนผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์