บทความรู้ไว้ไม่ตายโหง
"ประสบการณ์คับด้ามปืน ของยอดนักสืบผู้การเอลวิส"
วินัยชาติ
ขับรถผ่านเห็นป้ายเตือนจราจร “วินัยจราจรสะท้อนวินัยชาติ” มีความหมายลึกถ้าคิด แต่คนส่วนมากมองผ่านไม่ค่อยคิด ถ้าเปรียบวินัยคนในชาติเหมือนกับวินัยจราจรชาติเราใกล้สิ้นชาติเพราะแทบจะไม่มีวินัยอะไรเลย วินัยจราจรเฉพาะในกรุงเทพฯเละเทะสิ้นดี ไร้กฏเกณฑ์กฏิกา จะขับขี่อย่างไรขึ้นอยู่อารมณ์และสันดานคน กฎหมายจราจรไม่มีความหมายไม่มีใครปฏิบัติตาม ทุกวันนี้คดีรถชนจึงเกิดมาก ยิ่งช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อกันหลายวันยิ่งชนกันมากขึ้น วันปกติธรรมดามีผู้เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุจราจรเฉลี่ยชั่วโมงละ ๑ คนครึ่ง หากเป็นช่วงเทศกาลจะตายเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละ ๓ คน ท่านที่จะไปเที่ยวไปพักผ่อนในช่วงวันหยุดเทศกาลกรุณาได้ทำใจหรือสั่งเสียผู้ใกล้ชิดที่ไม่ได้ร่วมเดินทางด้วยว่า ท่านไปแล้วอาจไม่ได้กลับ มันเป็นเช่นนี้จริงๆแต่ขออย่าให้เกิดกับท่านเลย

ผู้ขับขี่รถหลายคนไม่เคยอ่านกฎหมายจราจรเลยทั้งๆที่ขับขี่รถทุกวัน ขับไปตามสัญชาตญาณความรู้สึกและอารมณ์ ต่อให้คุณระมัดระวังขับขี่ตามกฎคุณก็อาจถูกชนได้ ถนนสาธารณะเป็นสถานที่ๆใช้ร่วมกัน ฝ่ายหนึ่งเล่นตามกฎอีกฝ่ายเล่นตามแต่ใจ เมื่อมาอยู่ในที่เดียวกันเดี๋ยวก็เกิดเหตุ ยิ่งไปกว่านั้นถนนสาธารณะยังเป็นสถานที่ๆคนดีและคนเลวใช้ร่วมกันโดยเราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร คนที่ขับขี่อยู่ข้างๆเราอาจเป็นโจรมี M.16 และลูกระเบิดอยู่ด้วยก็ได้ ไม่แปลกอะไรที่ขับรถอยู่ดีๆถูกยิงตายไปหลายราย ถ้าเปรียบว่ารถแต่ละคันคือลูกกระสุนปืนคุณอยู่ในสนามรบ มีกระสุนปืนยิงสวน ยิงตามหลังตลอดเวลา หลบไม่ทันตาย อยากจะเตือนสติให้ขับขี่รถด้วยความระมัดระวัง คนอื่นจะขับขี่เฮงซวยอย่างไรจงทำใจเย็นปล่อยวาง คิดเสียว่าเขาเป็นคนความรู้น้อยด้อยปัญญา พ่อแม่ไม่เคยสั่งสอนหรือไม่ก็พ่อแม่หรือลูกเมียคงใกล้จะตายต้องรีบไปดูใจ ระวังอีกอย่างถึงคุณขับรถตามกฎก็มีสิทธิ์โดนเพราะหาว่า งุ่มง่าม มาจากบ้านนอก ก็คงจะโดนแค่บีบแตรด่าไม่ถึงกับโดนลูกปืน

อยากชักชวนให้หาซื้อ พ.ร.บ.จราจรทางบกมาอ่าน (หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายหนังสือใหญ่ๆทั่วไป) อ่านบ่อยๆสักเดือนละครั้งแล้วนำไปปฏิบัติ จำนวนอุบัติจะน้อยลง วินัยคนในชาติจะดีขึ้นแล้วจะรู้ว่าที่ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันไม่ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติตามกฏรับรองว่าขับรถยังไงก็ไม่มีทางชนกัน

ผมเคยลงเรื่อง “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ” มีผู้เข้ามาอ่านและถามปัญหากันมาก แสดงถึงคนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจศึกษากฎหมายจราจร สิ่งที่ผมนำมาตอบก็อยู่ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล ทนาย หรือ บริษัทประกันภัย ก็ยึดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายนี้ อ่านแล้วจะหายสงสัยว่าทำไมพนักงานสอบสวน(ตำรวจ)จึงหาว่าท่านผิด ก็ท่านไม่ได้ปฏิบัติตามกฏก็ถือว่าประมาทหรือผิดนั่นเอง ขอนำเรื่องจำเป็นที่ผู้ขับขี่รถควรทราบมาลงไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง พึงระลึกว่าผู้ขับรถ “ขา” อยู่ในตะรางแล้วข้างหนึ่ง รู้ไว้บ้างก็จะดี

๑ เหตุใดผู้ขับขี่รถในทางเมื่อชนคนได้รับบาดเจ็บแล้วผู้ขับรถจึงถูกต้องข้อหา ทำไมไม่ตั้งข้อหาคนเดินเท้าบ้าง คำตอบอยู่ใน มาตรา ๓๒ “การใช้รถในทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และ ต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น…ฯลฯ”

เห็นไหมครับ ถ้าเป็นใน “ทางเดินรถ” แล้ว กฎหมายให้เป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่รถที่ต้องระมัดระวังคนเดินเท้าที่เดินอยู่ใน “ทางเดินรถ”หรือ “ถนน” กฎหมายไม่ได้ให้คนเดินเท้าต้องระมัดระวังรถเลย เมื่อคุณขับรถชนคนจึงต้องถูกต้องข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บอยู่ร่ำไป

เรื่องขับรถชนคนใน “ทาง” ผู้ขับขี่ควรจะได้ทราบอีกเรื่อง กรณีขับรถไปชนคนที่ข้ามถนนนอกเขตทางข้าม มีบัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๔๕ “………………ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้ขับรถชนหรือโดนคนเดินเท้าที่ข้ามทางนอก “ทางข้าม”…………หรือข้ามทางโดยลอดหรือผ่านสิ่งปิดกั้นหรือแผงปิดกั้นที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่นำมาวางหรือตั้งอยู่บนทางเท้าหรือกลางถนน เมื่อพนักงานสอบสวนมีเหตุผลควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้ต้องหาได้ใช้ความระมัดระวังตาม มาตรา ๓๒ แล้ว พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาไปชั่วคราวโดยไม่มีประกันได้………….”

คนข้ามถนนจะต้องข้าม ณ บริเวณที่ทำไว้สำหรับให้คนข้าม ถ้าข้ามสะเปะสะปะไม่เป็นที่แล้วถูกรถชน ผู้ขับขี่รถก็ยังถูกตั้งข้อหาขับรถประมาทอยู่ดี แต่ มาตรา ๑๔๕ ให้อำนาจพนักงานสอบสวนปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ประกันได้ คือเมื่อสอบสวนปากคำเสร็จก็ให้กลับบ้านไปก่อนได้ ทั้งนี้จะต้องได้ความว่าคนขับรถได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้ว

๒ การขับรถ มีบัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ หมวด ๑ มีสาระรายละเอียดมาก สรุปดังนี้

๒.๑ ต้องขับรถทางด้านซ้ายของทางและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางถนน จะล้ำกลางถนนออกมาได้ในกรณีด้านซ้ายของทางมีสิ่งกีดขวาง หรือ ในกรณีถนนแคบ

๒.๒ กรณีถนนแบ่งช่องทางเดินรถไว้ก็ต้องขับรถอยู่ในช่อง ไม่ล้ำหรือคร่อมเส้นแบ่งช่อง

๒.๓ รถที่มีความเร็วช้าหรือความเร็วต่ำกว่ารถอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายมากที่สุดที่จะทำได้

๒.๔ การเลี้ยวรถ, ให้รถอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า, เปลี่ยนช่องเดินรถ, ลดความเร็วของรถ, จอดหรือหยุดรถ, ต้องให้สัญญาณให้ผู้ขับรถคันอื่นทราบก่อนจึงค่อยปฏิบัติ

๒.๕ การให้สัญญาณตามข้อ (๒.๔) ต้องให้สัญญาณก่อนเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตรก่อนที่จะปฏิบัติและยังจะต้องดูให้เกิดความปลอดภัยเสียก่อน ดังนั้นถึงคุณจะให้สัญญาณแล้วถ้ายังเห็นว่าไม่เป็นการปลอดภัย ก็ยังปฏิบัติไม่ได้

๒.๖ กรณี “ทางเดินรถ” แคบ เมื่อขับขี่รถสวนกันผู้ขับขี่ต้องลดความลงเพื่อให้สวนกันได้โดยปลอดภัย รถคันที่ใหญ่กว่าต้องหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้ายให้รถคันที่เล็กกว่าสวนไปก่อน กรณีมีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าในช่องทางใด ผู้ขับรถในช่องที่มีสิ่งกีดขวางนั้นต้องลดความเร็วหรือหยุดรถเพื่อรถคันที่สวนผ่านไปก่อน

๒.๗ กรณีที่ห้ามขับรถเด็ดขาด เมื่อคุณอยู่ในลักษณะอาการดังนี้

(๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันจะขับ เช่น ง่วงนอน ร่างกายอ่อนเพลีย สายตามองไม่เห็น เป็นต้น

(๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ในทางปฏิบัติจะตรวจวัดแอลกอฮอร์จากลมหายใจหรือในเลือด ถ้ามีปริมาณ ๕๐ มิลลิกรัม/เปอร์เซ็นต์ถือว่า “เมา” ห้ามขับรถ จะทราบได้อย่างไรว่าดื่มสุราเข้าไปเพียงใดแล้วจะตรวจพบว่า “เมา” ถือหลักดังนี้ครับ ดื่มเบียร์เพียง ๒ แก้วก็สามารถตรวจพบแล้ว

(๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร เช่น ขับส่ายไปส่ายมา จงใจขับโดยใช้ความเร็วต่ำขวางทางรถอื่น ฯลฯ

(๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว เช่น ขับรถความเร็วสูง ขับแซงซ้ายแซงขวา ขับรถจี้ชิดท้ายรถคันที่ขับขี่ข้างหน้ามากเกินไป ฯลฯ

(๕) ในลักษณะผิดวิสัยของคนขับรถธรรมดา เช่นใช้เท้าจับคันบังคับรถ (พวงมาลัยรถ) แทนการใช้มือ เป็นต้น

(๖) คร่อมหรือทับแนวเส้นแบ่งช่องทางเดินรถ

(๗) บนทางเท้า

(๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือเดือดร้อนของผู้อื่น เช่น ทางที่มีฝุ่นฟุ้งควรชะลอความเร็วกลับขับผ่านด้วยความเร็วสูงจนฝุ่นฟุ้งคนเดือดร้อน หรือขับรถทับน้ำกระเด็นเปรอะเปื้อนผู้อื่น ฯลฯ

ถ้าคุณขับรถลักษณะนี้ ไม่ต้องไปชนกับใครคุณอาจถูกจับปรับ บางข้อมีโทษจำคุกด้วย แต่ถ้าไปชนคนหรือรถอื่นคุณผิดฐานขับรถประมาทฯ

๓ การออกรถ การเลี้ยวรถและการกลับรถ

๓.๑ การขับรถออกจากที่จอด ต้องให้สัญญาณก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางรถอื่นจึงจะออกรถขับไปได้

๓.๒ การเลี้ยวรถ

– การเลี้ยวซ้าย ถ้าถนนไม่ได้แบ่งช่องให้ขับรถชิดขอบทางเดินรถด้านซ้าย ถ้าถนนแบ่งช่องเดินรถไว้ ต้องนำรถเข้าช่องสำหรับเลี้ยว

– การเลี้ยวขวา ถ้าถนนไม่ได้แบ่งช่องไว้ ให้ขับรถชิดด้านขวาของแนวกึ่งกลางของทางเดินรถ ถ้ามีการแบ่งช่องไว้ก็ต้องนำรถเข้าช่องที่ทำไว้สำหรับให้เลี้ยวขวา
ทั้งกรณีเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา คุณต้องนำรถเข้าให้ถูกช่องทางก่อนถึงจุดเลี้ยวไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตรและยังต้องให้สัญญาณให้ผู้ขับขี่อื่นทราบด้วย แถมยังจะต้องดูให้ปลอดภัยเสียก่อนจึงค่อยเลี้ยว

๓.๓ กรณีเลี้ยวรถในทางร่วม ทางแยก ต้องให้รถที่ขับขี่สวนมาในทางเดินรถเดียวกันผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน

๓.๔ ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามกลับรถหรือเลี้ยวรถทางขวาในเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมาในระยะ ๑๐๐ เมตร เว้นแต่เห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นที่กีดขวางรถอื่น

๓.๕ ห้ามกลับรถในเขตปลอดภัย(พื้นที่ๆมีคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงไว้บนพื้นถนน) ที่คับขัน บนสะพาน หรือ ในระยะ ๑๐๐ เมตรจากเชิงสะพาน ในทางร่วมทางแยกเว้นแต่จะมีเครื่องหมายให้กลับได้

๔ การหยุดรถและจอดรถ

๔.๑ ต้องให้สัญญาณก่อนหยุดหรือจอดในระยะไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร

๔.๒ จะหยุดหรือจอดได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร

๔.๓ จอดด้านซ้ายของทางเดินรถ ขนานกับขอบทางในระยะห่างไม่เกิน ๒๕ซม.

๕ สถานที่ๆห้ามหยุดรถ

ห้ามหยุดในบริเวณดังต่อไปนี้ ในช่องทางเดินรถ, บนทางเท้า, บนสะพานหรือในอุโมงค์, ในทางร่วมทางแยก, ในเขตที่มีเครื่องหมายห้าม, ปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ, ในเขตปลอดภัย, ในลักษณะกีดขวางการจราจร

๖ สถานที่ๆห้ามจอดรถ

ห้ามจอดรถในบริเวณดังต่อไปนี้

๖.๑ สถานที่ๆห้ามหยุดรถตามข้อ ๕

๖.๒ ระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิงและตู้ไปรษณีย์, ในระยะ ๑๐ เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร, ในระยะ ๑๕ เมตรจากทางรถไฟ, ซ้อนกับรถอื่นที่จอดอยู่แล้ว

การหยุดหรือจอดรถในเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างให้ผู้ขับขี่อื่นเห็นได้ในระยะ ๑๕๐ เมตร
การหยุดหรือจอดรถโดยผิดกฎหมายเมื่อมีรถอื่นมาโดน ท่านอาจโดนฟ้องเรียกค่าเสียหาย ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้

๗ สิ่งที่คนไทยขับรถฝ่าฝืนกันมาก และ เป็นเหตุให้เกิดการชนกันมากที่สุด คือ

๗.๑ ขับขี่รถตามท้ายรถคันที่ขับขี่ข้างหน้าในระยะกระชั้นชิด (ขับรถจี้ท้ายรถที่ขับข้างหน้า)

๗.๒ ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด

๗.๓ เปลี่ยนช่องทางเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณก่อน

๗.๔ เลี้ยวรถหรือกลับรถตัดหน้ารถทางตรงในระยะกระชั้นชิด

ในมาตรา ๔๐ ผู้ขับขี่รถตามหลังต้องขับรถให้ห่างจากรถคันที่ขับขี่ข้างหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น กฏหมายให้ความระมัดระวังตกเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ตามหลัง (เคยมีคดีไปถึงศาลๆเคยพิพากษาตัดสิน ในความเร็วปกติในเมืองต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย ๑๕ เมตร ลองหลับตานึกภาพว่าทุกวันนี้เราปฏิบัติตามกฎหรือเปล่า ดังนั้นเมื่อมีเหตุรถคันที่ขับขี่ตามหลังมักจะผิด)

การใช้ความเร็วใน กทม.ได้เพียง ๘๐ กม./ชม. และ มาตรา ๗๐ กรณีขับขี่เข้าใกล้ทางร่วม ทางแยก, จะเลี้ยวรถ, จะหยุดรถ, จะให้รถอื่นแซง, เข้าที่คับขัน, เข้าใกล้ทางข้ามที่มีเส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วรถในลักษณะที่จะให้เกิดความปลอดภัย

เอาเพียงแค่นี้เป็นของขวัญปีใหม่ไปก่อนแล้วท่านก็ลองเปรียบเทียบดูกับกรณีรถชนกันบนทางด่วนโทลเวย์ใครน่าจะผิดจะถูก ขอให้ทุกท่านปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางถนนในเทศกาลปีใหม่นี้.
"คุณอังกูรเล่นหนังด้วยหรอ?"
"โห...ประกบคู่กับพี่เอกสรพงษ์ด้วย"
"คลาสสิคสุดๆ...อยากดูเต็มๆจัง"
และอีกมากมายสำหรับเสียงตอบรับ เนื่องจากล่าสุดทีมงานทำ VDO "เปิดปูมฮีโร่" มาให้ได้ชมกัน วันนี้ทีมงานจีงขอสมนาคุณแฟนๆ ตามเสียงเรียกร้องครับ เราใช้เวลาตามหาภาพยนตร์สุดคลาสสิคเรื่องนี้อยู่นาน ในที่สุดก็ถึงมือแฟนๆ ไปดูกันเลยดีกว่าครับ...

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพยนตร์)

ตอน 1ตอน 2ตอน 3
ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 1 ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 2 ภาพยนตร์ เรื่อง 1+1 ฉึ่งแหลก ตอน 3
ติดตามกันมานาน
จนเป็นแฟนประจำกันก็มาก...
แต่หลายๆท่านคงยังอยากรู้จักคุณอังกูร (007) ในแง่มุมต่างๆ ให้ลึกลงไป
ถึงเรื่องราวชีวิตกว่าจะมาเป็นฮีโร่ของเรา
ในวันนี้ เราจึงไม่รอช้าจัดเป็น VDO
ให้ชมกันอย่างจุใจ

(คลิ๊กที่ รูปเพื่อดูวีดีโอ)

พลังสกาล่าร์ ร้องทุกข์ที่นี้
จำนวนผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์